โรคพาร์กินสัน เกิดจากการเสื่อมของสมองอย่างช้าๆ ในส่วนของ สับสแตนเชียไนกรา (Substantia nigra) ที่มีความผิดปกติในการสร้างสารสื่อประสาทที่เรียกว่า “โดพามีน” (Dopamine) ซึ่งช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อคนไข้มีอาการป่วยเป็นโรคพาร์กินสันจะเกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติซึ่งเป็นอาการที่สำคัญของโรคร่วมกับอาการอื่น
สาเหตุของโรคยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อว่าปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม จากการได้รับสารเคมีและอาหาร ส่งผลทำให้เกิดโรคได้
การวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน ได้จากการซักประวัติ ตรวจรร่างกาย ประกอบกับการตรวจทางห้องปฎิบัติการ การทำ MRI สมอง และการตรวจการทำงานของสมอง ในส่วนของ DAT scan ซึ่งสามารถตรวจความผิดปกติของสารโดพามีนในสมองส่วนลึก
อาการของโรคพาร์กินสัน
กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
สั่น
เคลื่อนไหวช้า
การทรงตัวไม่ดี
เสียงค่อบเบาลง
สีหน้าไร้อารมณ์
หลังค่อมตัวงุ้มลง
การรับกล่นลดลง
ท้องผูก
ตะโกนร้อง/ผวาขณะหลับ
เขียนตัวหนังสือเล็กลง
การรักษาโรคพาร์กินสัน ปัจจุบันยังมีการรักษาที่หายขาดหรือหยุดยั้งการดำเนินของโรคได้ แต่สามารถรักษาทางยา และการทำกายภาพบำบัดเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก ในการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย เช่นการฝึกเดิน การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การทำพิลาทิส โยคะ ไทชิ ปั่นจักรยาน และการฝึกพูด ฝึกกลืน เมื่อมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นหรือควรรีบรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาที่ถูกต้องและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
นักกายภาพบำบัดวิชาชีพของโกลอัพทูโฮม กายภาพบำบัดรักษาที่บ้าน
โรคพาร์กินสัน ดูแลได้อย่างไร
Line: @growuptohome