top of page
ค้นหา

เดินดีไม่มีล้มกับผู้สูงวัย

อัปเดตเมื่อ 16 ธ.ค. 2566

การล้มเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการบาดเจ็บและ การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้สูงวัย และคิดเป็นร้อยละ 20-40 ของสาเหตุการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในกลุ่มคนที่ มีอายุ 65 ปีขึ้นไป คนกลุ่มนี้ล้มอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี และพบว่าร้อยละ 20-30 ของการล้มเป็น สาเหตุการบาดเจ็บที่รุนแรง เช่น กระดูกหัก หรือการบาดเจ็บของศีรษะและสมอง และยังส่งผลต่อเนื่องทำให้เกิดความบกพร่องด้านการทรงตัวและการเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้ระดับการทำกิจกรรมและความสามารถในการใช้ชีวิตโดยไม่ต้องพึ่งพา ผู้อื่นลดลง อีกทั้งยังเสียความมั่นใจในการเดินหรือทำกิจกรรม เนื่องจากกลัวล้ม นอกจากนี้พบว่าการล้มเป็นสาเหตุหลักของอาการ กระดูกหักในผู้สูงวัย โดยเฉพาะกระดูกสะโพกและยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำ ให้ผู้สูงวัยต้องย้ายจากบ้านและชุมชนไปอยู่ ในสถานพักฟื้นคนชรา การจัดการปัญหาการล้มในผู้สูงวัยที่ดีที่สุดคือการ ตรวจประเมินเพื่อจัดการความเสี่ยง และการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันการล้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


การตรวจประเมินการทรงตัวและความเสี่ยงในการล้มเป็นวิธีเบื้องต้นในการป้องกันการล้มในผู้สูงวัย เพื่อคัดกรอง ผู้สูงวัยที่อาจมีความเสี่ยงในการล้ม ผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถวัดผลได้เอง


  1. การทดสอบสมดุลร่างกายด้วยการยืนบนขาข้างเดียว (Single Leg Stance) หากยืนได้น้อยกว่า 5 วินาที แปลว่ามีความ เสี่ยงต่อการล้ม และหากพบว่ามีความผิดปกติในการทดสอบข้างใดข้างหนึ่ง ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการล้มเช่นกัน

  2. การทดสอบสมดุลร่างกายด้วยวิธีเอื้อมมือ (Functional Reach Test) หากเอื้อมมือได้ระยะทางน้อยกว่า 6 นิ้ว หรือ 15 เซนติเมตร แปลว่ามีความเสี่ยงต่อการล้ม

  3. การทดสอบสมดุลร่างกายด้วยการนั่ง ลุก ยืน เดิน (Timed Up and Go Test: TUG) หากใช้เวลาเดินมากกว่า 20 วินาที แปลว่า มีความเสี่ยงต่อการล้ม


ดังนั้นผู้สูงอายุควรออกกำลังกายเพื่อพัฒนาความสามารถในการทรงตัวและป้องกันการล้ม โดยพิจารณาเลือกท่าออกกำลังกายตามระดับความสามารถของการทรงตัวและการยืน โดยแบ่งกลุ่มผู้สูงวัยเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้


กลุ่มที่ 1 ผู้สูงวัยที่นอนติดเตียงและไม่สามารถเดินได้ ด้วยตนเอง

กลุ่มที่ 2 ผู้สูงวัยที่สามารถยืนและเดินได้ด้วยตนเอง


สรุปแล้วการล้มเป็นปัญหาสำคัญและพบบ่อยในผู้สูงวัย สิ่งที่จะช่วยแก้ไขและป้องกันปัญหาในระยะยาว ได้แก่ การซักประวัติ ความเสี่ยงในการล้ม การตรวจประเมินการทรงตัวและความเสี่ยงในการล้ม ทั้งในผู้สูงวัยที่ติดเตียงและที่สามารถยืนและเดินได้ด้วยตนเอง โดยสามารถปรึกษานักกายภาพบำบัดมาช่วยประเมินและจัดโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงวัยในแต่ละราย เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการฝึกที่ดียิ่งขึ้น


ผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ

อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา และคณะ.//(2559).//คู่มือการดูแลผู้สูงวัย: เดินดีไม่มีล้ม.//วารสารภาคี.// หน้า 7-55


นักกายภาพบำบัดวิชาชีพของโกลอัพทูโฮม กายภาพบำบัดรักษาที่บ้าน

เดินดีไม่มีล้มกับผู้สูงวัย

bottom of page