ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหรือผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก มักมีการพลิกตะแคงของข้อเท้าข้างที่อ่อนแรงตอนเดิน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเดินไม่ดี ไม่มั่นใจ และกลัวที่จะล้มเมื่อมีการเดินเกิดขึ้น ซึ่งสาเหตุเกิดจากการเดินเข่าแอ่น ทำให้การลงน้ำหนักของเท้าข้างที่อ่อนแรงไม่ถูกต้อง มีการลงน้ำหนักไปทางด้านนอกข้อฝ่าเท้า ทำให้น่อง ข้อเท้า และเอ็นใต้ฝ่าเท้าเกิดอาการตึงรั้ง จึงทำให้มีการเท้าพลิกตะแคงของเท้าเกิดขึ้น
อาการเท้าพลิกที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าเกิดบ่อยจะทำให้กระดูกหน้าแข้งและกระดูกข้อเท้าผิดรูปแบบการเรียงตัวของกระดูกที่ถูกต้อง ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงของการก้าวขาข้างอ่อนแรงไปด้านหน้า ทำให้ข้อเท้าจะถูกกระตุ้นบิดพลิกได้ง่าย อีกประการหนึ่งคือ กล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าทำงานไม่สมดุลกันระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วก้อย เมื่อกระดกนิ้วเท้าทางด้านนิ้วโป้งมากกว่าจะทำให้เกิดการพลิกตะแคงของข้อเท้า
วิธีการที่สามารถช่วยแก้ไขอาการพลิกตะแคงนี้ได้ คือ การฝึกลงน้ำหนักในการยืน การเดินที่ถูกต้อง การใช้การรับความรู้สึกของฝ่าเท้า และการยืดกล้ามเนื้อน่อง เอ็นใต้ฝ่าเท้าข้างที่อ่อนแรง จะลดช่วยอาการพลิกตะแคงของข้อเท้าได้ แต่ในรายที่เป็นมาก ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องใส่เครื่องพยุงข้อเท้า (AFO) เพื่อป้องกันการพลิกตะแคงข้อเท้า
ดังนั้นอาการพลิกตะแคงของข้อเท้าในข้างที่อ่อนแรงของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง สามารถหายไปหรือดีขึ้นได้จากการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง และการได้รับคำแนะนำจากนักกายภาพบำบัดอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้สมองเกิดการเรียนรู้และจดจำวิธีการรับ ประมวลผล และส่งต่อข้อมูลออกมาได้อย่างถูกต้องในการยืนลงน้ำหนักเท้าที่ดี เดินดีดีต่อไป
นักกายภาพบำบัดวิชาชีพของโกลอัพทูโฮม กายภาพบำบัดรักษาที่บ้าน
การเดินเท้าพลิกตะแคงในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
Line: @growuptohome